๑. ความจําเปนของการประกันคุณภาพการศึกษา
ปจจุบันมีปจจัยภายในและภายนอกประเทศหลายประการที่ทําให้การประกันคุณภาพการศึกษาเปนสิ่งจําเปนที่ตองเรงดําเนินการ เช่น การตื่นตัวในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศตาง ๆการสื่อสารที่ไรพรมแดน การเพิ่มเสรีดานการคาและการบริการ ความคาดหวังของสังคม สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับรูขอมูลขาวสารตลอดจนขอจํากัดในดานงบประมาณของประเทศ ปจจัยเหลานี้ไดกระตุ้นใหผูที่อยูในวงการศึกษาตระหนักถึงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งปรากฏ
ออกมาในพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. การประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ได
กําหนดจุดมุงหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่ตองมุงเนนคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกําหนดรายละเอียดไวในหมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗ กําหนดใหมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับประกอบดวย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอกและในวรรคสอง บัญญัติวา ระบบหลักเกณฑและวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ใหเปนไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ไดออกกฎกระทรวง ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ กฎกระทรวงวาดวยระบบหลักเกณฑ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาน ศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๖ ขอ ๒วรรคสอง บัญญัติวาระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา เปนสวนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเปนกระบวนการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอยางตอเนื่อง ประกอบดวย
๒.๑.๑ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
๒.๑.๒ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
๒.๑.๓ การจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๔ การดําเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๕ การตรวจสอบและการทบทวนคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๖ การประเมินคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๗ การรายงานคุณภาพการศึกษาประจําป
๒.๑.๘ การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
๒.๒ กฎกระทรวง วาดวยระบบ หลักเกณฑ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ขอ ๖ (๑) บัญญัติวา ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
ของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคํานึงถึงองคประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ดังตอไปนี้
๒.๒.๑ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค และแผนดําเนินงาน
๒.๒.๒ การเรียนการสอน
๒.๒.๓ กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
๒.๒.๔ การวิจัย
๒.๒.๕ การบริการทางวิชาการแกสังคม
๒.๒.๖ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
๒.๒.๗ การบริหารและการจัดการ
๒.๒.๘ การเงินและงบประมาณ
๒.๒.๙ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
ความสำคัญและประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
๑. เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่มาตรฐานสากล
๒. การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. การบริหารจัดการสถาบันการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตผู้สำเร็จ
การศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ
๔. ผู้เรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ
๕. สถาบันการศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา
หลักการของการประกันคุณภาพการศึกษา
๑. การสร้างความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา
๒. การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
๓. การตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
๔. การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
๕. การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน
๖. การสร้างความรู้ ทักษะและความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
๗. การประสานสัมพันธ์ในองค์กร บุคลากรในพื้นที่
๘. การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร